คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติให้มีวันหยุดยาว วันหยุดราชการ เพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน และ ธันวาคม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ ที่จะส่งผลต่อเนื่องไปยังการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศอีกทางหนึ่งด้วย
ทีนี้เรามาอัปเดตกันหน่อยว่าช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีนี้ มีวันหยุดอะไรกันบ้าง
เดือนพฤศจิกายน 2563
- พฤหัสบดีที่ 19 และ ศุกร์ที่ 20 – รัฐบาลอนุมัติให้หยุดเป็นกรณีพิเศษ [เป็นวันหยุดยาว 4 วัน คือ 19-22 พฤศจิกายน 2563]
เดือนธันวาคม 2563
- วันเสาร์ที่ 5 – วันพ่อแห่งชาติ
- วันพฤหัสบดีที่ 10 – วันรัฐธรรมนูญ
- วันศุกร์ที่ 11 – รัฐบาลอนุมัติให้หยุดเป็นกรณีพิเศษ ด้วยการยกเลิกวันหยุดชดเชยวันพ่อแห่งชาติในวันจันทร์ที่ 7 [เป็นวันหยุดยาว 4 วัน คือ 10-13 ธันวาคม 2563]
- วันพฤหัสบดีที่ 31 – วันสิ้นปี
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้สถาบันการเงินดำเนินการตามปกติในวันพฤหัสบดีที่ 19 และวันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2563 และคงวันหยุดชดเชยวันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม 2563 ตามกำหนดการเดิม เพื่อไม่เพิ่มภาระต้นทุนกับภาคธุรกิจมากจนเกินไปและไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกรรมทางการเงินที่ได้ตกลงชำระราคาหรือจัดสรรเงินตามกำหนดวันหยุดเดิมไว้ล่วงหน้าแล้ว เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลให้มีวันหยุดยาวสำหรับกระตุ้นเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นสมควร ให้เพิ่มวันหยุดทำการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษ ในวันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม 2563″
ดังนั้นใครที่ทำงานในสายงานด้านการเงินการธนาคาร หรือแม้แต่เอกชนทั่วไปที่มักจะกำหนดวันหยุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น จะมีวันหยุดในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2563 เป็นดังนี้
เดือนพฤศจิกายน 2563
- ไม่มีวันหยุดพิเศษเพิ่มเติม
เดือนธันวาคม 2563
- วันเสาร์ที่ 5 – วันพ่อแห่งชาติ
- วันจันทร์ที่ 7 – วันหยุดชดเชยวันพ่อแห่งชาติ [เป็นวันหยุดยาว 3 วัน คือ 5-7 ธันวาคม 2563]
- วันพฤหัสบดีที่ 10 – วันรัฐธรรมนูญ
- วันศุกร์ที่ 11 – วันหยุดเป็นกรณีพิเศษ [เป็นวันหยุดยาว 4 วัน คือ 10-13 ธันวาคม 2563]
- วันพฤหัสบดีที่ 31 – วันสิ้นปี